ข่าวน้ำ การบริหารจัดการน้ำ
น้ำดิบ น้ำจืด น้ำประปา น้ำบาดาล
น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำเสีย น้ำหมุนเวียน
วัน 9 ตุลาคม พ.ศ.2567
วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ.2567
สำนักพระราชวัง ขอเชิญชวนประชาชน
ร่วมเจริญอริยมรรค “สัมมาทิฏฐิ”
ระลึกถึง พระรัตนตรัย ว่าเป็นสรณะที่พึ่งที่ยึดถือ
อันเป็นทางเป็นธรรมที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้โดยชอบ
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องใน
วันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระสยามเทวมหามกุฏวิทยมหาราช
และเนื่องใน
วันนวมินทรมหาราช
ระหว่างวันที่ ๑ – ๑๘ ตุลาคม ๒๕๖๗
ผ่านแอปพลิเคชัน “สมาธิเสบียงบุญ”
สำนักพระราชวัง
ขอเชิญชวนประชาชนร่วมเจริญอริยมรรค
“สัมมาทิฏฐิ”
พุทโธ เม นาโถ
(พระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า)
ธัมโม เม นาโถ
(พระธรรมเป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า)
สังโฆ เม นาโถ
(พระสงฆ์เป็นที่พึ่งอันประเสริฐของข้าพเจ้า)
(โดยให้ระลึกย้ำ ๆ ซ้ำ ๆ ต่อเนื่องได้ในทุกอิริยาบถ ยืน เดิน นั่ง นอน)
ที่มา > หน่วยราชการในพระองค์ Royaloffice
12 สิงหาคม 2567
12 August 2024
๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
วันแม่แห่งชาติ
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์
พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและพนักงาน
เว็บไซต์เคมวินโฟ ดอทคอม
วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ.2567
ขอเชิญชวนประชาชนร่วมลงนามถวายพระพรชัยมงคล
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
ผ่านระบบออนไลน์
ที่เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ www.royaloffice.th
ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๗
28 กรกฎาคม 2567
ทรงพระเจริญ
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดี
ศรีสินทรวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า
ผู้บริหาร และ พนักงาน เว็บไซต์เคมวินโฟดอทคอม
20 มิถุนายน พ.ศ. 2567
20 June 2024
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้
กองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร
จัดตั้งเป็น
มูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๗
ณ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร
พลอากาศเอก ชลิต พุกผาสุข
องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
พร้อมด้วย
นายจรัลธาดา กรรณสูต
องคมนตรี รองประธาน ฯ
เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิฝนหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์
ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗
ซึ่งเป็นการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิ ฯ ครั้งแรก
หลังจากที่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ให้กองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร
จดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิฝนหลวง
และพระราชทานพระมหากรุณาให้มูลนิธิอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ส่งเสริมและสนับสนุน
ทุนการศึกษา การค้นคว้าวิจัย และพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม
และกิจกรรมอื่นที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติการฝนหลวงและการบินเกษตร
เสริมสร้างการจัดการความรู้ ทักษะ
ความชำนาญและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
ในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง
ระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เพื่อพัฒนาและส่งเสริมบุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถ
ตลอดจนมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
เพื่อให้การสงเคราะห์ช่วยเหลือ แก่หน่วยงานและเจ้าหน้าที่
รวมถึงครอบครัวของผู้ปฏิบัติงานในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง
ซึ่งมีความเสี่ยงอันตราย ตลอดจนบุคคล องค์กร กลุ่ม ชมรม สมาคมและอื่นๆ
ที่มีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวง
ให้มีสวัสดิภาพและคุณภาพในการปฏิบัติงาน
ส่งเสริมและพัฒนา การดูแลรักษา
และฟื้นฟูระบบนิเวศทางธรรมชาติให้มีความสมบูรณ์ และยั่งยืน
เพื่อดำเนินการหรือร่วมมือกับส่วนราชการ
องค์กรการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
เมื่อวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๑๗
สมาชิกสหกรณ์การเกษตรจังหวัดขอนแก่น
และสมาชิกสหกรณ์การ เกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์
ขอพระราชทานทูลเกล้าทูลกระหม่อม ถวายเงิน
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
จำนวน ๕๔,๕๐๐ บาท (ห้าหมื่นสี่พันห้าร้อยบาทถ้วน)
เพื่อสมทบทุนในการทำฝนหลวง
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดตั้ง
กองทุนฝนหลวง
ต่อมาเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๓
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี องค์ประธานมูลนิธิชัยพัฒนา
พระราชทานเงิน จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐ บาท (สิบล้านบาทถ้วน)
และมีผู้บริจาคสมทบทุนการทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง
โดยปัจจุบันกรมฝนหลวงและการบินเกษตรเป็นผู้ดูแลกองทุนดังกล่าว
และเมื่อวันที่ ๒๔ สิงหาคม ๒๕๕๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
พระราชทานเงินสมทบกองทุน จำนวน ๒๑,๒๒๒,๘๘๐.๓๐ บาท
(ยี่สิบเอ็ดล้านสองแสนสองหมื่นสองพันแปดร้อยแปดสิบบาทสามสิบสตางค์)
เพื่อเป็นการสืบสานพระราชปณิธานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในการบรรเทาและแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่ประชาชน
มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และการบริหารงานมีรูปแบบที่เป็นมาตรฐาน
คณะกรรมการที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิฝนหลวง
จึงได้มีการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน ๒๕๖๕
เห็นชอบให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทรงทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท
ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต
ให้กองทุนฝนหลวงฯ จัดตั้งเป็นมูลนิธิฯ
ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ให้กองทุนฝนหลวงและการบินเกษตร
จดทะเบียนจัดตั้งเป็น มูลนิธิฝนหลวง ย่อว่า ฝ.ล.
และรูปแบบเครื่องหมายมูลนิธิฯ
และพระราชทานพระมหากรุณาให้มูลนิธิอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์
3 มิถุนายน พ.ศ. 2567
3 June 2024
ทรงพระเจริญ
๓ มิุนายน ๒๕๖๗
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
ผู้บริหาร และ พนักงาน เว็บไซต์เคมวินโฟดอทคอม
1 มิถุนายน พ.ศ. 2567
1 June 2024
ขอเชิญร่วมลงนามถวายพระพร
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๗
ที่มา > หน่วยราชการในพระองค์ RoyalOffice
21 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
21 May 2024
ปริมาตรน้ำ
รวมภาคเหนือ ล้าน ลูกบาศ์เมตร
น้ำกักเก็บ 10,599 (43%)
ความจุอ่าง 24,825
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
4 May 2024
วันฉัตรมงคล
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
พระปฐมบรมราชโองการ
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด
และครองแผ่นดินโดยธรรม
เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป
The occasion of
the coronation anniversary of
His Majesty King Maha Vajiralongkorn
Phra Vajiraklaochaoyuhua (Rama X),
The coronation of
His Majesty King Rama X
was performed on 4-6 May 2019,
but the most important event
of the three-day ceremony
was held on 4 May.
Therefore, 4 May was designated
Coronation Day
and a public holiday
His Majesty King Rama 10
presented
the First Royal Command
on 4 May 2019
We Shall Sustain, Preserve,
Continue and
Shall Reign with Righteousness
for the Benefit and Happiness
of the People Forever
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
ข้าพระพุทธเจ้า
ผู้บริหาร และ พนักงาน เว็บไซต์เคมวินโฟดอทคอม
12 มีนาคม พ.ศ. 2567
12 March 2024
SCG ร่วมเฉลิมพระเกียรติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เนื่องในโอกาส
มหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 72 พรรษา
28 กรกฎาคม 2567
เฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา
ฟื้นน้ำ สร้างป่า พัฒนาคุณภาพชีวิต - SCG
23 ตุลาคม พ.ศ.2566
23 October 2023
วันปิยมหาราช พุทธศักราช ๒๕๖๖
วันปิยมหาราช พุทธศักราช ๒๕๖๖
พระผู้ทรงก่อกำเนิดการชลประทานสมัยใหม่
13 ตุลาคม พ.ศ.2566
13 October 2023
สถิตในดวงใจตราบนิรันดร์
๑๓ ตุลาคม
วันคล้ายวันสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
พระราชกรณียกิจด้านการเจริญพระราชไมตรีกับต่างประเทศ
พระราชกรณียกิจด้านการฟื้นฟูศิลปะและวัฒนธรรมไทย
พระราชกรณียกิจด้านพระศาสนา
พระราชกรณียกิจด้านการศึกษา
พระราชกรณียกิจด้านการแพทย์และการสาธารณสุข
พระราชกรณียกิจด้านการคมนาคม
โครงการส่วนพระองค์ สวนจิตรลดา
ปวงข้าพระพุทธเจ้า น้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณหาที่สุดมิได้
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร และพนักงาน
เว็บไซต์เคมวินโฟดอทคอม
>> ที่มา เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์/Royaloffice.th
7 กันยายน พ.ศ. 2566
7 September 2023
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแก่ราษฎร
เพื่อให้มีน้ำอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร
และบรรเทาสถานการณ์ภัยแล้ง
ตั้งแต่วันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๕๙ – ๒๒ สิงหาคม ๒๕๖๖
จำนวน ๑๑๑ โครงการ
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ
>> ที่มา เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์/Royaloffice.th
12 สิงหาคม พ.ศ. 2566
12 August 2023
“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า
ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ
พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”
พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
อ.ส่องดาว จ.สกลนคร เมื่อ 20 ธันวาคม พ.ศ.2525
พระราชดำรัสของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ที่แสดงถึงพระราชปณิธานอันแรงกล้า
ที่จะทรงงานด้านการอนุรักษ์ป่า ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำ
บรมนาถบพิตร ที่ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งน้ำ
เพื่อช่วยให้พสกนิกรชาวไทยมีน้ำเพียงพอ
ต่อการดำรงชีพและการทำการเกษตร ส่งผลให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น
๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน
เว็บไซต์เคมวินโฟ ดอทคอม
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2566
28 July 2023
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๖
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
>> ดาวน์โหลด พระราชดำรัส ในการเสด็จออกมหาสมาคม
ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย
วันศุกร์ ที่ ๒๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหาร และพนักงาน เว็บไซต์ เคมวินโฟ ดอทคอม
ที่มา > เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ Royal Office
2ึ7 กรกฎาคม พ.ศ. 256ุ6
27 July 2023
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอด
โครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และแนวพระราชดำริต่าง ๆ
ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพล อดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
รับโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง
ระยะแรก ๑๕ โครงการ ครอบคลุม ๑๑ จังหวัด
ไว้เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๖๔
เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง
ในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคได้ตลอดทั้งปี
โดยมีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหน่วยงานรับผิดชอบ
พิจารณาพื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้งและขาดแคลนน้ำ
ไม่มีศักยภาพในการเจาะบ่อน้ำบาดาล
จำเป็นต้องทำการเจาะบ่อน้ำบาดาลขนาดใหญ่
พร้อมกับก่อสร้างระบบประปาบาดาลในพื้นที่ที่มีความเหมาะสม
เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่เดือดร้อน
โดยจัดทำโครงการต้นแบบ จำนวน ๒ พื้นที่ คือ
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่
แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบลดงเค็ง อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
และ
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่
แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
ที่มา > เว็บไซต์หน่วยราชการในพระองค์ RoyalOffice
26 มีนาคม พ.ศ. 256ุ6
น้ำในอ่าง 15,477 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 62%
น้ำใช้การได้จริง 8,732 ล้าน.ลบ.ม คิดเป็น 35%
ที่มา > คลังข้อมูลน้ำแห่งชาติ 26 มีนาคม 2566
6 ธันวาคม พ.ศ. 2565
บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด
ได้เข้าดำเนินงานตรวจสอบและซ่อมบำรุง
เครื่องสูบน้ำ เครื่องกำเนิดไฟฟ้า และอุปกรณ์ต่าง ๆ
ของโครงการท่อส่งน้ำคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต-อ่างเก็บน้ำบางพระ
โดยมีระยะเวลาดำเนินการ
ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม 2564 ถึงวันที่ 4 มีนาคม 2565
ทั้งนี้ โครงการฯ มีองค์ประกอบสำคัญ คือ
สถานีสูบน้ำแรงดัน 160 ม.
ความสามารถในการสูบน้ำประมาณ 5.5 ลบ.ม./วินาที
หรือประมาณ 475,000 ลบ.ม.ต่อวัน
ผ่านท่อส่งน้ำดิบขนาด 1.80 ม.
จากคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิตไปยังอ่างเก็บน้ำบางพระ
ความยาวประมาณ 58.5 กม.
เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำในภาคตะวันออก
ติดต่อ
เลขที่ 111 ซอยพหลโยธิน 8 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน
เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร 10400
10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565
ปริมาณน้ำในเขื่อน 10 พฤศจิกายน 2565
ปริมาณน้ำในเขื่อน 10 พฤศจิกายน 2564
ที่มา > http://tiwrmdev.hii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
7 ตุลาคม พ.ศ. 2565
ปริมาณน้ำในเขื่อน 7 ตุลาคม 2565
เปรียบเทียบกับ
ปริมาณน้ำในเขื่อน 7 ตุลาคม 2564
ที่มา > http://tiwrmdev.hii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
12 สิงหาคม พ.ศ. 2565
๑๒ สิงหาคม วันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
ทรงพระเจริญ
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและพนักงาน เว็บไซต์เคมวินโฟ ดอทคอม
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๕
ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ
ข้าพระพุทธเจ้า ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เว็บไซต์เคมวินโฟดอทคอม
ขอขอบคุณแหล่งที่มารูปภาพและข้อมูล
1.ในหลวง เสด็จออกมหาสมาคมในการพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
เผยแพร่: ปรับปรุง:
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
2.ไลน์ไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2565
ที่มา > http://tiwrmdev.hii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
6 เมษายน พ.ศ. 2565
วันจักรี
น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑
3 เมษายน พ.ศ. 2565
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง
ณ ตำบลหนองฝ้าย อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่
แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่่องมาจากพระราชดำริ
ที่่ บ้านปากชัดหนองบัว หมู่ที่่ ๒ ตำบลหนองฝ้าย
อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุุรี เป็นพื้นที่่ต้นแบบ
ในการพัฒนาพื้้นที่่แห้งแล้งโดยใช้น้ำบาดาลเป็นหลัก
ลักษณะโครงการประกอบด้วย
บ่อน้ำบาดาล จำนวน ๘ บ่อ ความลึกเฉลี่่ย ๒๐๐ เมตร
ถังเหล็กเก็บน้ำความจุ ๒,๐๐๐ ลููกบาศก์เมตร
ความสูง ๙ เมตร จำนวน ๒ ถัง
และหอถังเหล็กเก็บน้ำชนิดรักษาแรงดันความจุุ ๓๐๐ ลููกบาศก์เมตร
ความสููง ๓๐ เมตร จำนวน ๒ ถัง
ก่อสร้างระบบกระจายน้ำรวม ๒๓.๓ กิโลเมตร
ประชาชนได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า ๑๑,๖๐๐ ครัวเรือน
หรือ ๕๘,๐๐๐ คน พื้้นที่่ได้รับประโยชน์กว่า ๓๐๐,๐๐๐ ไร่
ปริมาณน้ำรวม ๒.๓ ล้านลููกบาศก์เมตรต่่อปี
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่แก้ปัญหาภัยแล้ง
อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ๑๕ โครงการ
2 เมษายน พ.ศ. 2565
๒ เมษายน วันคล้ายวันพระราชสมภพ
สมเด็จพระกษิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี
ทรงพระเจริญ
22 มีนาคม พ.ศ. 2565
ในหลวงรัชกาลที่ 9 ตรัสไว้ว่า “น้ำ คือ ชีวิต”
และพระองค์ได้ทรงแสดงให้พวกเราเห็นถึง
การบริหารจัดการน้ำ
“จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที”
…
การบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ รัชกาลที่ 9
ปล.นิทรรศการนี้มีที่นี่ … ที่เดียว
9 ธันวาคม พ.ศ. 2564
สมาคมประกันวินาศภัยไทยมุ่งเปลี่ยน
ทุ่งกุลาร้องไห้เป็นทุ่งกุลายิ้มได้
ขยายพื้นที่โครงการธนาคารน้ำใต้ดินแก้ภัยน้ำท่วม-น้ำแล้ง
ครอบคลุมพื้นที่กว่า 1.6 แสนไร่ในปี 2564
นายอานนท์ วังวสุ
นายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย
เปิดเผยว่า คณะกรรมการกองทุนประกันภัยพืชผล และคณะผู้บริหารสมาคมฯ
ได้ลงพื้นที่ติดตามและตรวจเยี่ยมผลการดำเนินงาน
โครงการธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้
รวม 2 อำเภอ ได้แก่
อำเภอหนองฮี และอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
ซึ่งเป็นโครงการที่สมาคมฯ ได้ให้ความช่วยเหลือ
เกษตรกรที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วม
ให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
สามารถประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องประสบกับภัยแล้งหรือน้ำท่วมซ้ำซาก
และเพื่อเป็นต้นแบบการทำธนาคารน้ำใต้ดินที่สมบูรณ์แบบของไทย
“โครงการธนาคารน้ำใต้ดินนี้ สมาคมฯ เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2562
ภายใต้ความร่วมมือของ
สถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณ
โดยพระนิเทศศาสนคุณ (หลวงพ่อสมาน สิริปัญโญ)
ได้จัดทำโครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชน
เพื่อการมีน้ำใช้อย่างสมดุลและยั่งยืน (ธนาคารน้ำใต้ดิน)
ณ ตำบลดูกอึ่งและตำบลเด่นราษฎร์
อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด หรือ
โครงการ “หนองฮีโมเดล”
ซึ่งถือเป็นโครงการแรกที่สมาคมฯ
ได้ริเริ่มดำเนินการ
ในพื้นที่รวม 30 หมู่บ้าน ประชากร 3,408 ครัวเรือน
ครอบคลุมพื้นที่ 78,913 ไร่
ซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จและส่งมอบธนาคารน้ำใต้ดิน จำนวน 3,095 บ่อ
ให้กับจังหวัดร้อยเอ็ดเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2563
เพื่อให้เป็นสาธารณประโยชน์ของชุมชนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว”
ในปี 2564 คณะกรรมการกองทุนประกันภัยพืชผล สมาคมประกันวินาศภัยไทย
ได้อนุมัติงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อขยายพื้นที่
ในการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินเพิ่มเติม
ให้ครอบคลุมพื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้
โดยคัดเลือกอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
เป็นพื้นที่เป้าหมายดำเนินงานภายใต้
“โครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชน
เพื่อการมีน้ำใช้อย่างสมดุลและยั่งยืน (ธนาคารน้ำใต้ดิน)
ในพื้นที่ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด”
ครอบคลุมพื้นที่ 88,862 ไร่ รวม 21 หมู่บ้าน จำนวน 3,286 ครัวเรือน
ให้ได้รับประโยชน์ต่อไป
สำหรับพื้นที่ในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด
สมาคมฯ ได้สนับสนุนการขุดบ่อธนาคารน้ำใต้ดินในรูปแบบต่าง ๆ
ประกอบด้วย
1. บ่อปิดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ขนาด 1x1x1.5 เมตร จำนวน 2,100 บ่อ
2. บ่อเปิด ขนาด 10x10x7-12 เมตร จำนวน 35 บ่อ
3. บ่อเปิด ขนาด 40x40x7-12 เมตร จำนวน 26 บ่อ
4. บ่อเปิดแบบเจาะเพื่อป้องกันนำ้ล้นตลิ่งตามริมลำน้ำเสียว
ขนาด 0.6x12 เมตร จำนวน 291 บ่อ
5. บ่อทูอินวัน เส้นผ่านศูนย์กลาง 2 เมตร จำนวน 21 บ่อ
รวมทั้งหมด 2,473 บ่อ โดยใช้
งบประมาณจากกองทุนประกันภัยพืชผล จำนวน 23,285,500 บาท
และมอบหมายให้
สถาบันน้ำนิเทศศาสนคุณเป็นผู้ดำเนินการ
ตั้งแต่เดือนมีนาคมจนเสร็จสมบูรณ์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
ซึ่งหลังจากนี้สมาคมฯ จะได้ดำเนินการส่งมอบโครงการให้กับทางรัฐบาล
เพื่อศึกษาและขยายผลต่อยอดองค์ความรู้
ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำตามระบบธนาคารน้ำใต้ดินในพื้นที่อื่น ๆ ต่อไป
“ปัจจุบันการเกิดภัยธรรมชาติไม่ว่าจะเป็นภัยแล้งหรือภัยน้ำท่วม
ล้วนส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรเป็นอย่างมาก
ทั้งเรื่องของค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น
ในกระบวนการเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตร
รวมถึงการขาดรายได้จากการประกอบอาชีพ
ถึงแม้การประกันภัยข้าวนาปี การประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์
และการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรอื่น ๆ
จะมีบทบาทสำคัญในการชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้น
แต่ประกันภัยก็ถือเป็นการช่วยบรรเทาความเสียหายที่ปลายเหตุ
สมาคมฯ จึงได้เข้ามาดำเนินโครงการบริหารจัดการแหล่งน้ำชุมชน
เพื่อการมีน้ำใช้อย่างสมดุลและยั่งยืน
ในรูปแบบของการสร้างเครือข่ายระบบธนาคารน้ำใต้ดิน
เพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่
สามารถต่อยอดใช้ประโยชน์ได้อย่างคุ้มค่า
ซึ่งผลจากการดำเนินงานธนาคารน้ำใต้ดินทั้ง 2 โครงการ
สามารถครอบคลุมพื้นที่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้รวม 2 อำเภอ 3 ตำบล
พื้นที่รวมกว่า 167,775 ไร่ ผมเชื่อมั่นว่า
โครงการธนาคารน้ำใต้ดินของสมาคมฯ
จะสามารถช่วยแก้ปัญหาภัยแล้ง ภัยน้ำท่วม
และช่วยเหลือประชาชนรวมถึงเกษตรกรที่ประสบปัญหาทางการเกษตร
เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
พื้นที่ “ทุ่งกุลาร้องไห้เป็น ทุ่งกุลายิ้มได้”
เครดิต > สมาคมประกันวินาศภัยไทย
1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
ข้อมูลน้ำ เขื่อน กฟผ.
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2564
>>ดูระดับน้ำในเขื่อนจากกล้อง CCTV Real Time
** เพื่อความถูกต้องในการแสดงผล
โปรดใช้ Browser เช่น Google chrome ,
Firefox , safari ในการเข้าชม **
นางวันเพ็ญ แก้วแกมทอง (กจน-ฟ.)
กองจัดการทรัพยากรน้ำ นายธราธร วัฒนพิมล (นค.7)
สำนักงานกลาง อาคาร ท.101 ชั้น 11 ห้อง 1105
กฟผ. 53 หมู่ 2 ถนนจรัญสนิทวงศ์ อ.บางกรวย จ. นนทบุรี 11130
โทร. 0-2436-8186 โทรสาร 0-2436-8197
เครดิต >ศูนย์ติดตามสถานการณ์น้ำ
13 ตุลาคม พ.ศ. 2564
๑๓ ตุลาคม วันคล้ายวันสรรคต
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
สถิตอยู่ในใจตราบนิรันดร์
ข้าพระพุทธเจ้า คณะผู้บริหารและพนักงานเว็บไซต์เคมวินโฟดอทคอม
2 กันยายน พ.ศ. 2564
เปลี่ยนมุมมองบริหารน้ำให้เหมือนบริหารเงินเดือน
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ประธานกรรมการกิตติมศักดิ์ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
บริหาร “น้ำ” จุดเริ่มต้นบริหารการผลิตและการตลาด
ดร.รอยล จิตรดอน
ประธานกรรมการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
กระตุ้นท้องถิ่นดูแลแหล่งน้ำ แนะพลิกวิกฤตเก็บน้ำเป็นทุน
ดร.สุทัศน์ วีสกุล
ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
“ชี้ช่องแก้จน เปลี่ยนฝนเป็นทุน”
โอกาสพลิกชีวิตก้าวข้ามวิกฤตโควิด 19
วิถีเกษตรกร ต่อยอดพัฒนาอาชีพ
ทางรอดคนคืนถิ่น สร้างรายได้และความสุขที่ยั่งยืน
“ชี้ช่องแก้จน เปลี่ยนฝนเป็นทุน”
24 สิงหาคม พ.ศ. 2564
“ศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำระดับจังหวัด” 76 จังหวัด
พร้อมใช้งานแล้วทางเว็บไซต์
และสามารถติดตามสถานการณ์น้ำผ่าน “ศูนย์ฯ น้ำจังหวัด”
เครดิต > สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สนทช
12 สิงหาคม พ.ศ. 2564
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
๑๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
“พระเจ้าอยู่หัวเป็นน้ำ ฉันจะเป็นป่า
ป่าที่ถวายความจงรักภักดีต่อน้ำ
พระเจ้าอยู่หัวสร้างอ่างเก็บน้ำ ฉันจะสร้างป่า”
พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9
เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2525
ณ บ้านถ้ำติ้ว อำเภอส่องดาว จังหวัดสกลนคร
31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ
รายงานสถานภาพน้ำเขื่อนต่างๆ วันที่ 31 กรกฎาคม 2564
https://tiwrm.hii.or.th/DATA/REPORT/php/rid_bigcm.html
ที่มา : กรมชลประทาน
จัดทำโดย : สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๔
วันเฉลิมพระชนมพรรษา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ทรงพระเจริญ
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2564
ความก้าวหน้าโครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่
แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
บริเวณตําบลดงเค็ง อําเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
วันที่ 25 กรกฎาคม 2564
นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล
พร้อมด้วย นายเฉลิม กลิ่นนิ่มนวล
ที่ปรึกษากรมทรัพยากรน้ำบาดาล และ
นายอุโรม แก้วจันทร์
ผู้อำนวยการสำนักทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 4 (ขอนแก่น)
ลงพื้นที่ตรวจติดตามความก้าวหน้า
โครงการจัดหาน้ำบาดาลขนาดใหญ่
แก้ปัญหาภัยแล้งอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
บริเวณตําบลดงเค็ง อําเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น
สำหรับรูปแบบโครงการ ประกอบด้วย
👉 บ่อน้ำบาดาล ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 12 บ่อ
ความลึกเฉลี่ย 70 เมตร พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า
ขนาด 3 แรงม้า จำนวน 12 ชุด
👉 บ่อสังเกตการณ์ ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 2 บ่อ
พร้อมติดตั้งเครื่องวัดระดับน้ำและคุณภาพน้ำอัตโนมัติ
จำนวน 2 ชุด
👉 ชุดแผงพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 2 ชุด
👉 ถังเหล็กเก็บน้ำ ความจุ 1,000 ลูกบาศก์เมตร จำนวน 2 ถัง
👉 โรงสูบพร้อม Vertical multistage pump
ขนาด 20 แรงม้า จำนวน 2 ตัว
👉 หอถังเหล็กเก็บน้ำชนิดแรงดัน 30 เมตร
ความจุ 300 ลูกบาศก์เมตร ความสูง 39 เมตร จำนวน 1 ถัง
👉 ถังกรองสนิมเหล็ก จำนวน 2 ถัง
👉 อาคารปรับปรุงคุณภาพน้ำดื่ม
👉 จุดจ่ายน้ำถาวร จำนวน 3 จุด
21 มิถุนายน พ.ศ. 2564
ติดตั้งระบบกรองน้ำดื่ม RO กำลังการผลิต 3,000 ลิตรต่อวัน
เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคน้ำดื่มที่มีคุณภาพสะอาดถูกหลักอนามัย
เมื่อวันที่ 10-14 มิถุนายน ที่ผ่านมา
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG
และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) หรือ สสน.
ลงพื้นที่บ้านน้ำปุก ตำบลขุนควร อำเภอปง จังหวัดพะเยา
เพื่อติดตั้งระบบกรองน้ำดื่ม RO กำลังการผลิต 3,000 ลิตรต่อวัน
เพื่อให้คนในชุมชนได้บริโภคน้ำดื่มที่มีคุณภาพสะอาดถูกหลักอนามัย
ในการติดตั้งระบบกรองน้ำดื่มครั้งนี้ สสน.
ได้สนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศด้านน้ำ
เพื่อให้ชุมชนมีระบบกรองน้ำที่มีคุณภาพ
มีน้ำสะอาดบริโภคกว่า 150 ครัวเรือน
สามารถลดรายจ่ายจากการซื้อน้ำบริโภคของชุมชน
ได้ถึง 4,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี
โดยเป้าหมายของโครงการในครั้งนี้
มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับ
การสร้างความมั่นคงในด้านน้ำ 3 ด้าน นั่นคือ
น้ำอุปโภค บริโภค และน้ำเกษตร
3 มิถุนายน พ.ศ. 2564
เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี
๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๔
ขอพระองค์ทรงพระเจริญ
24 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
บริษัท ช.การช่าง จากัด (มหาชน)
ขอแจ้งให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทราบว่า
บริษัทฯ ได้ลงนามสัญญาจ้างก่อสร้าง
งานก่อสร้างอุโมงค์ส่งน้ำ
ตามแนวถนนกาญจนาภิเษกและถนนทางรถไฟสายเก่า
จากสถานีสูบจ่ายน้าบางมด ถึง สถานีสูบจ่ายน้ำสาโรง
พร้อมงานที่เกี่ยวข้อง ใน
โครงการปรับปรุงกิจการประปาแผนหลักครั้งที่ 9
กับ การประปานครหลวง โดยมีรายละเอียดของงานดังต่อไปนี้
วันที่ลงนาม 24 พฤษภาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินการ ประมาณ 1,200 วัน
มูลค่าสัญญาทั้งสิ้น 4,949,800,000 บาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
เครดิต > www.set.or.th , www.settrade.com
4 พฤษภาคม พ.ศ. 2564
เนื่องในวโรกาสวันฉัตรมงคล พุทธศักราช ๒๕๖๔
ทรงพระเจริญ
1 เมษายน พ.ศ. 2564
การติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์ ให้กับชุมชนและเครือข่าย
พร้อมทั้ง ทำวีดิทัศน์เพื่อเป็นการจัดการความรู้
(Knowledge Management) ให้กับชุมชนเข้าใจอย่างง่าย
เมื่อวันที่ 29 มีนาคม – 2 เมษายน 2564
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
ลงพื้นที่เหนือ เขื่อนภูมิพล ตำบลบ้านนา อำเภอสามเงา จังหวัดตาก
เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เรื่องการติดตั้งระบบสูบน้ำพลังงานแสงอาทิตย์
ให้กับชุมชนและเครือข่าย พร้อมทั้ง ทำวีดิทัศน์
เพื่อเป็นการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
ให้กับชุมชนเข้าใจอย่างง่าย
15 มีนาคม พ.ศ. 2564
ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล
ประธานกรรมการมูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
>>ดาวน์โหลด การนำเสนอ "เลิกแล้ง เลิกจน"
เอสซีจี จับมือเครือข่าย ชู
“เลิกแล้ง เลิกจน” โมเดล
หลังพิสูจน์แล้ว ชุมชนมีน้ำกิน-ใช้ รายได้เพิ่ม อาชีพมั่นคง
นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส
กรรมการผู้จัดการใหญ่ เอสซีจี
เกษตรกรไทยมีความหวัง หลังเผชิญกับวิกฤติภัยแล้งสาหัส
ไม่มีน้ำกิน–ใช้ ผลผลิตการเกษตรตกต่ำ ขาดรายได้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ชู 6 ขั้นตอน เอาชนะปัญหาภัยแล้ง และความยากจน ได้แก่
1. รู้รักสามัคคี พึ่งพาตนเอง
2. เรียนรู้จัดการน้ำ ด้วยเทคโนโลยี
3. หาน้ำได้ เก็บน้ำไว้ ใช้น้ำเป็น
4. ทำเกษตรผสมผสาน บริหารความเสี่ยง
5. เข้าใจตลาด เข้าใจลูกค้า
6. เศรษฐกิจเพิ่มคุณค่า ชุมชนพัฒนาอย่างยั่งยืน
ตัวอย่างความสำเร็จ
บ้านห้วยปลาหลด อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
ตัวอย่างความสำเร็จ
เครือข่ายลุ่มน้ำแม่ละอุป อำเภอกัลยานิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่
ตัวอย่างความสำเร็จ
กว๊านพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา
ตัวอย่างความสำเร็จ
ชุมชนป่าภูถ้ำ ภูกระแต อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น
ตัวอย่างความสำเร็จ
ชุมชนบ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม
บริหารจัดการ ๔ น้ำ น้ำเค็ม น้ำกร่อย น้ำจืด น้ำเสีย
และระบบการใช้น้ำหมุนเวียน
โครงการบริหารจัดการน้ำที่เอสซีจีทำมากว่า 10 ปี
ตั้งแต่การสร้างฝายชะลอน้ำกว่า 100,000 ฝาย
การทำสระพวง แก้มลิง
โครงการ “เอสซีจีร้อยใจ 108 ชุมชน รอดภัยแล้ง”
เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ในโอกาสเอสซีจีครบรอบ 108 ปี และ
โครงการ “พลังชุมชน” ส่งเสริมวิสาหกิจสร้างรายได้ให้ชุมชน
พร้อมเดินหน้าขยายผล
สู่ชุมชนทั่วประเทศต่อไป
เอสซีจีและเครือข่ายพันธมิตรเชื่อมั่นว่า
หากชุมชนมีความสามัคคีและลุกขึ้นมาจัดการน้ำแบบพึ่งพาตนเอง
โดยใช้ความรู้และเทคโนโลยีในการวางแผนการใช้น้ำ
จะช่วยให้มีน้ำสำรองไว้ใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค
โดยชุมชนที่สนใจรายละเอียดเพิ่มเติม
สามารถติดต่อได้ที่
สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
โทร.086-626-6233 หรืออีเมล agro@hii.or.th
12 มีนาคม พ.ศ. 2564
ดีเดย์ 1 เม.ย. พร้อมติดอาวุธให้ภาคประชาชน
ตั้ง“องค์กรผู้ใช้น้ำ”ร่วมแก้วิกฤติน้ำของประเทศ
“สทนช.”จัดเสวนาสร้างการรับรู้การแจ้งเกิด “องค์กรผู้ใช้น้ำ”
มิติใหม่แห่งพัฒนาและ
สร้างการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
หวังยื่นดาบให้ประชาชนร่วมจัดการวิกฤติน้ำในพื้นที่
พร้อมระดมความคิดเห็นตัวแทนผู้ใช้น้ำ 3 ฝ่าย
รับมือการขึ้นจดทะเบียนตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำดีเดย์ 1 เม.ย. 64 นี้
ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์
เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)
เปิดเผยว่า “องค์กรผู้ใช้น้ำ” เกิดขึ้น
ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
ถือเป็นกลไกลใหม่ในประวัติศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของประเทศ
ที่ให้ภาคประชาชน
เข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ
ดังนั้น กิจกรรมครั้งนี้จึงมีเป้าหมายสำคัญ
เพื่อให้ความรู้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยเฉพาะตัวแทนผู้ใช้น้ำ 3 ฝ่าย ประกอบด้วย
* ภาคเกษตรกรรม
* ภาคพาณิชยกรรม
* และภาคอุตสาหกรรม
ได้ตระหนักถึงบทบาทและความความสำคัญขององค์กรผู้ใช้น้ำ
ในการสร้างการมีส่วนร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในมิติใหม่ในอนาคต
รวมทั้งเตรียมความพร้อมใน
การจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำ
ทั้งคุณสมบัติผู้ที่จะเข้าร่วมเป็นองค์ผู้ใช้น้ำ
ขั้นตอนกระบวนการและวิธีการต่างๆ
ในการยื่นขอรับรองความเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำ
ซึ่งคาดว่าจะสามารถประกาศขึ้นทะเบียนได้ในวันที่ 1 เมษายน 2564 นี้
สำหรับบทบาทที่สำคัญขององค์กรผู้ใช้น้ำ
นอกจากเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการใช้ การพัฒนา
การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู
และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในหมู่สมาชิกร่วมกันแล้ว
ยังสามารถเข้ารับการคัดเลือกเป็น
กรรมการลุ่มน้ำในเขตลุ่มน้ำของตนได้
ซึ่งลุ่มน้ำหนึ่งๆ มีจำนวน 9 คน แบ่งเป็น
ภาคเกษตรกรรม 3 คน
ภาคอุตสาหกรรม 3 คน
และภาคพาณิชยกรรม 3 คน
โดยกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำเหล่านั้น
ยังมีสิทธิได้รับการคัดเลือกไปเป็น
กรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำ
ในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้อีกด้วย
รวมทั้งสิ้นจำนวน 4 คน
เพื่อเสนอแนะ ให้ข้อมูลหรือความคิดเห็นต่อคณะกรรมการลุ่มน้ำ
เพื่อนำมาใช้ในการบริหารทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำของตนเอง
ซึ่งปัจจุบันมี
การแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำใหม่เป็น 22 ลุ่มน้ำหลัก
และ 353 ลุ่มน้ำสาขา
ดังนั้น “องค์กรผู้ใช้น้ำ” จะเป็นกลไกสำคัญที่รัฐบาลมุ่งหวัง
ไปสู่การยกระดับในการสร้างการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน
ที่จะเข้ามามีสิทธิ์มีเสียงและร่วมแก้ไขปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง
รวมถึงการบริหารจัดการน้ำในระดับพื้นที่
ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยมี สทนช. ทำหน้าที่เป็นหน่วยหลักในการขับเคลื่อน
การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ
ในระดับลุ่มน้ำให้สามารถจัดสรรน้ำได้อย่างเท่าเทียม
ทั่วถึง และเป็นธรรม” นายสมเกียรติ กล่าว
“แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีการจัดตั้งองค์กรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำขึ้นมาบ้าง
แล้วโดยหลายหน่วยงาน แต่ถือว่ายังไม่ได้อยู่ภายใต้
พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
ดังนั้น องค์กรหรือกลุ่มผู้ใช้น้ำของหน่วยงานที่มีอยู่เดิมตามภารกิจ
จะต้องมายื่นขอก่อตั้งเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำ
ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561
เพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั้งระบบ
โดยกำหนดให้กลุ่มบุคคลหรือนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
ที่รวมตัวกันจำนวนไม่น้อยกว่า 30 ราย ต้องตั้งตัวแทน
ไปยื่นคำขอจดทะเบียนก่อตั้งองค์ผู้ใช้น้ำต่อ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ ในฐานะนายทะเบียน
ผ่าน 3 ช่องทางทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
ทั้งทางระบบออนไลน์ และยื่นเอกสารด้วยตนเอง ได้แก่
2.สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
อาคารจุฑามาศ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ และ
3.สำนักงานของ สทนช. ภาค 1- 4
ได้แก่ จ.ลำปาง จ.สระบุรี จ.ขอนแก่น และ จ.สุราษฎร์ธานี
โดยมีกระบวนการตรวจสอบเอกสารข้อมูลประมาณ 30 วัน
หากถูกต้องครบถ้วน จะเข้าสู่กระบวนการออกเอกสารรับรอง
ว่าเป็นองค์กรผู้ใช้น้ำตาม พรบ.ทรัพยากรน้ำต่อไป”
เครดิต > สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สนทช
21 มกราคม พ.ศ. 2564
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินงานครบ 9 ปี
เอกสารรับสมัครโครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ
โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ ตามแนวพระราชดำริ
เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2551
ซึ่งในปี 2564 เป็นปีที่
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ดำเนินงานครบ 9 ปี
มูลนิธิฯ จึงเห็นสมควรให้การดำเนิน
โครงการพี่นำน้องรักษ์น้ำ
ตามแนวพระราชดำริ ปีที่ 9 : สู่ความยั่งยืน
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความต่อเนื่อง
ของการเรียนรู้สู่การลงมือทำ
และถวายความกตัญญุตาลัยแด่
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศ มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช
บรมนาถบพิตร
ด้วยการ “เทิด ด้วย ทำ”
สานต่อพระราชปณิธานที่พระองค์ได้พระราชทานไว้
ด้วยการน้อมนำหลักการทรงงานและ
แนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการดิน น้ำ ป่า มาปฏิบัติ
ดาวน์โหลดเอกสารสมัครเข้าร่วมโครงการ
มูลนิธิอุทกพัฒน์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
อาคารสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน)
12 ธันวาคม พ.ศ. 2563
9 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำ ฤดูแล้ง ปี '63-'64
เร่งกักเก็บน้ำก่อนฝนหมด
จัดหาแหล่งสำรองน้ำดิบในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ
ปฎิบัติการเติมน้ำ
กำหนดการจัดสรรน้ำฤดูแล้ง
วางแผนเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
เฝ้าระวังคุณภาพน้ำ
หลัก 3R
ติดตามประเมินผล
สร้างการรับรู้สถานการณ์น้ำและแผนจัดสรรน้ำ
สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ
2 ธันวาคม พ.ศ. 2563
มท. 2 ตรวจเยี่ยม กปน. ย้ำนโยบายดูแลคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน
ตามนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย
ในโอกาสนี้ นายนิพนธ์ บุญญามณี
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
ได้กล่าวมอบนโยบายให้ กปน.
มุ่งเน้นความสำคัญเรื่องการลดน้ำสูญเสีย
ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบ
และใช้นวัตกรรม เทคโนโลยีต่าง ๆ
เพื่อบริหารจัดการลดน้ำสูญเสียอย่างมีประสิทธิภาพ
ตลอดจนเชิญชวนให้ประชาชนเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดน้ำ
ที่ได้รับการรับรองฉลากประหยัดน้ำของ กปน.
เพื่อร่วมเป็นกำลังหลัก
ในการช่วยกันอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำให้มีใช้อย่างยั่งยืน
รวมทั้งนำเทคโนโลยีมาใช้
เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในครัวเรือนของพี่น้องประชาชน เช่น
การใช้แอปพลิเคชัน MWA onMobile
ในการติดต่อและใช้บริการต่าง ๆ กับ กปน.
ทั้งการแสดงคุณภาพน้ำประปาแบบ Real Time
การชำระค่าน้ำประปา
การแจ้งปัญหาท่อประปาแตกรั่ว
วิธีการประหยัดน้ำ ฯลฯ
นอกจากนี้ ยังให้ กปน. มุ่งบำบัดทุกข์ บำรุงสุข
ดูแลประโยชน์ของประชาชนผู้ใช้น้ำเป็นหลัก
ลดความเหลื่อมล้ำ และให้ทุกคนเข้าถึงน้ำประปา
ที่มีคุณภาพดี สะอาด ปลอดภัย
ตามมาตรฐานองค์การอนามัยโลก (WHO)
อย่างทั่วถึงและเพียงพอ โดยเฉพาะ
ในพื้นที่ชายขอบและพื้นที่ห่างไกล
ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาประเทศ
ในภาคธุรกิจ และโครงสร้างขนาดใหญ่ของรัฐ
เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
(Eastern Economic Corridor : EEC)
เพื่อให้ประเทศเกิดการพัฒนาได้อย่างรวดเร็วและมั่นคง
ซึ่งจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต
เสริมสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างยั่งยืน
ทั้งนี้ นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ประธานกรรมการ กปน.
เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการ กปน. ว่า
ได้มอบให้ กปน. ดำเนินการตามนโยบายของ
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
โดยเน้นให้เกิด
การพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้องค์กร
ควบคู่กับ
การบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
ให้รองรับเทคโนโลยียุคประเทศไทย 4.0
เพื่อให้ กปน. เป็นองค์กรสมรรถนะสูง
ด้วยการให้บริการที่เป็นเลิศ
พร้อมด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัย
ตลอดจนรับผิดชอบ เอาใจใส่ดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม
ควบคู่ไปกับการเป็น องค์กรแห่งธรรมาภิบาล
22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
“ระบบนํ้าหมุนเวียน” ทางรอดวิกฤตนํ้าประเทศไทย
ถอดบทเรียนชุมชนรอดภัยแล้ง สร้างรายได้ ยั่งยืน ฟื้นเศรษฐกิจชุมชน
ปัญหาน้าของประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็น น้าท่วม น้าแล้ง และ น้าเสีย
ถือเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้าซากยาวนานส่งผลกระทบ
ต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน รวมทั้งเศรษฐกิจของประเทศ
ภาครัฐ ภาคเอกชน นักวิชาการ ชุมชน และเยาวชนคนรุ่นใหม่
จึงได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น
ในงาน SD Symposium 2020
“Circular Economy: Actions for Sustainable Future”
ที่จัดขึ้นโดย เอสซีจี
เพื่อหาทางออกแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม
รวมถึงปัญหาวิกฤตน้าประเทศไทย
ด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)
พร้อมเสนอทางรอดและข้อสรุป
ตลอดจนแนวทางให้เกิดการขยายผลนำไปปฏิบัติจริง
โดยเชื่อว่า การบริหารจัดการน้าด้วย “ระบบน้าหมุนเวียน”
จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤตน้าได้อย่างยั่งยืน
18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
การประปานครหลวง (กปน.) จับมือ
สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.)
เสริมทักษะวิชาชีพอาชีวศึกษาด้านงานก่อสร้าง Living Solution Expert
ซึ่งความร่วมมือนี้ กปน. ได้บรรจุ หลักสูตรช่างประปา
ร่วมกับหลักสูตรอื่นภายใต้การดำเนินงานของ
บริษัทในเครือของเอสซีจี ที่ร่วมมือกับ สอศ.
และพันธมิตรในกลุ่มอุตสาหกรรมที่อยู่อาศัย
อาทิ บ.นวพลาสติกอุตสาหกรรม จำกัด
บ.แลนด์แอนด์เฮาส์ จำกัด (มหาชน) และ SC Asset
เพื่อร่วมกันพัฒนาวิชาชีพด้านงานก่อสร้างของนักศึกษาอาชีวศึกษา
ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน
และช่วยส่งเสริมการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2563 เวลา 09.30 น.
ณ อาคารสำนักงานใหญ่ บ.ปูนซีเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) บางซื่อ
นางสาวสุทิสา นาคเสน
ผู้เชี่ยวชาญการประปานครหลวง (กปน.) ระดับ 10
และ
นายสุเทพ แก่งสันเทียะ
เลขาธิการ คณะกรรมการอาชีวศึกษา
ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU)
ศูนย์ความเป็นเลิศทางวิชาการ (Excellent Center)
สาขางานก่อสร้าง โครงการ living Solution Expert
ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (สอศ.) กับ กปน.
16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
Toray Receives Consecutive Orders
for Reverse Osmosis Desalination Plants in Bahrain and UAE
Toray Industries, Inc., announced today that
it has been awarded orders
for supply of reverse osmosis (RO) membrane for
Al Dur 2 Desalination Plant in the Kingdom of Bahrain
and Umm Al Quwain Desalination Plant
in the United Arab Emirates.
While the combined water production capacity
of the two plants will amass 911,000 m3/day,
Umm Al Quwain Desalination Plant alone
will hold one of the world’s largest capacity
with 681,000 m3/day fresh water production.
Orders Details
Al Dur 2 Desalination Plant
Location: Al Dur, Kingdom of Bahrain
Production capacity: 230,000 cubic meters daily
Expected Operation: 2022
EPC Contractor: SIDEM Veolia (France)
Umm Al Quwain Desalination Plant
Location: Umm Al Quwain, United Arab Emirates
Production capacity: 681,000 cubic meters daily
Expected Operation: 2022
Engineering and Procurement: SIDEM Veolia (France)
Looking ahead
While RO membrane is used in wide range of the field
from desalination, waste water, to industrial application,
Toray has reinforced RO membrane production capacity,
and technical support on a global scale
over the years to further contribute
to resolve water issues, achieving
the total accumulated water production
of over 79,000,000 m3/day
on RO membrane shipment basis which is equivalent to
serving water to 550 million people,
or around 7% of world population.
Raising to provide safe water using membrane technology
“Toray Group Sustainability Vision”
announced July 2018 as well as
in the mid-term management vision
“Toray Vision 2030” announced this May,
Toray will continue to supply RO membranes
and other advanced membrane products
through enhancement of localization of business activities
to serve local demands, striving to help overcoming
the challenges of ever growing water demand globally
LINK TO TORAY SEAWATER DESALINATION SYSTEMS
9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
เมกะโปรเจค กปน. คืบหน้าต่อเนื่อง
พร้อมเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงในการให้บริการน้ำประปาแก่ประชาชน
6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
สถานการณ์นํ้ารายสัปดาห์
รายงานสถานการณ์นํ้า
3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563
อีสท์ วอเตอร์ พร้อมให้บริการผลิตน้ำประปาในโครงการวังจันทร์วัลเลย์
ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2563 EECi ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก
สมเด็จฯ พระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
เปิดอาคารศูนย์ปฎิบัติการอัจฉริยะ (IOC) ในพื้นที่ EECi
ในการนี้ นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
และ นายชรินทร์ โซนี่ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่
สายกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ ได้เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน
และถวายรายงานเกี่ยวกับการให้บริการน้ำประปาแก่ EECi
การให้บริการของอีสท์ วอเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
จัดหา และ วางท่อน้ำดิบ
แหล่งน้ำดิบหลักที่ใช้สำหรับ EECi คือ จากอ่างเก็บน้ำประแสร์
โดยอีสท์ วอเตอร์ ดำเนินการวางท่อน้ำดิบจากท่อส่งน้ำสายหลัก
เส้นอ่างเก็บน้ำประแสร์-หนองปลาไหล
เชื่อมประสานท่อเข้าโครงการที่บริเวณแยกบ้านยุบตาเหน่ง
และต่อท่อแยกจ่ายน้ำดิบเข้าสู่โครงการ ระยะทางประมาณ 4 กม.
เพื่อเข้าสู่จุดติดตั้งระบบผลิตน้ำประปาในพื้นที่ EECi
บริหารจัดการระบบผลิตน้ำประปา
เทคโนโลยีที่อีสท์ วอเตอร์ เลือกใช้ผลิตน้ำประปาให้แก่ EECi
คือระบบ Ceramic Membrane
ซึ่งผิวของ Membrane จะมีโครงสร้างของ Silica Carbide
ที่มีขนาดรูพรุนเพียง 0.1 ไมครอน
ก่อนที่จะผ่านการกรองที่ขนาด 8 ไมครอนต่อไป
สามารถใช้กับแหล่งน้ำได้ทุกประเภท
โครงสร้างของเมมเบรนมีความคงทนสูง
อายุการใช้งานยาวนาน อัตราการกรองสูง
ปริมาณน้ำสูญเสียต่ำ ทนต่อการกัดกร่อน ประหยัดพลังงาน
ใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย ค่าบำรุงรักษาต่ำ
และผลิตน้ำประปาตามมาตรฐานสากล
มีกำลังการผลิตสูงสุด 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
18 ตุลาคม พ.ศ.2563
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานผ้าพระกฐินให้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ทอดถวาย ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จ.ฉะเชิงเทรา
วันที่ 18 ต.ค.63 เวลา 14.00 น.
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานผ้าพระกฐินและเครื่องกฐินพระราชทาน
ให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
น้อมนำมาถวายแด่พระสงฆ์
ณ วัดโสธรวรารามวรวิหาร จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยมี นายศักดิ์ดา วิเชียรศิลป์
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เป็นผู้แทนพระองค์
อัญเชิญผ้าพระกฐินพระราชทาน
พร้อมด้วยพระธรรมมังคลาจารย์
ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 12 และเจ้าอาวาส วัดโสธรวรารามวรวิหาร
เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และพระราชปริยัติสุนทร เจ้าคณะจังหวัดฉะเชิงเทรา
รับมอบผ้าพระกฐินพระราชทานโดยมี
นายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา
นางจันทรรัตน์ ไตรติลานันท์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา
ข้าราชการ และพุทธศาสนิกชนผู้มีจิตศรัทธาเข้าร่วมพิธี
สำหรับยอดเงินร่วมทำบุญในครั้งนี้มีจำนวน 3,019,999 บาท
เพื่อเป็นการอุปถัมภ์พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส
ให้ได้รับอานิสงส์ตามพระวินัย
และเป็นทุนในการบูรณปฏิสังขรณ์พระอาราม
และเพื่อเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
โอกาสนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
ได้มอบเงินบำรุงโรงเรียน 2 โรงเรียน ได้แก่
โรงเรียนพระปริยัติธรรมฯ และ โรงเรียนวัดโสธรวรารามวรวิหาร
และมอบเงินบำรุงโรงพยาบาลพุทธโสธร
17 ตุลาคม พ.ศ. 2563
กปภ. ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน ปี 2563
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานผ้าพระกฐินให้การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.)
นำไปถวายยังพระอารามหลวง โดยในปี 2563
กำหนดถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร
ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
ในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563
นายกฤษฎา ศังขมณี รองผู้ว่าการ (วิชาการ)
รักษาการแทนผู้ว่าการ กปภ.
กล่าวว่า กปภ. ได้ขอรับพระราชทานผ้าพระกฐินไปทอดถวาย
ณ พระอารามหลวงเป็นประจำทุกปี
สำหรับปี 2563 กปภ. จะนำผ้าพระกฐินพระราชทาน
ไปทอดถวายแด่พระสงฆ์ ซึ่งจำพรรษากาลถ้วนไตรมาส
ณ วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร ต.ในเวียง อ.เมืองแพร่ จ.แพร่
โดยจัดให้มีพิธีสมโภชผ้าพระกฐินพระราชทาน
ในวันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม 2563
และประกอบพิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน
ในวันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม 2563
ทั้งนี้ พิธีถวายผ้าพระกฐินพระราชทานเป็นกิจกรรมสำคัญที่ กปภ.
ปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำทุกปี
เพื่อร่วมสืบสานประเพณีการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา
และถวายเป็นพระราชกุศลแด่
พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าพระเจ้าอยู่หัว
สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พระบรมราชินี
และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
นายหลักชัย พัฒนเจริญ รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ 1)
ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินงานถวายผ้ากฐินพระราชทาน
ประจำปีพุทธศักราช 2563 กล่าวเพิ่มเติมว่า
วัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี
เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวแพร่
ในวัดมีเจดีย์มิ่งเมืองและเป็นที่ประดิษฐาน
พระพุทธโกศัยศิริชัยมหาศากยมุนี
อันเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง นอกจากนี้
ยังเป็นที่เก็บรักษาพระคัมภีร์ปักด้วยไหม
พระคัมภีร์ที่ตัวอักขระประดิษฐ์ขึ้นจากการปักด้วยไหมทีละตัว
นับเป็นศิลปวัตถุชิ้นเอกชิ้นหนึ่งของจังหวัดแพร่
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทานิ
16 ตุลาคม พ.ศ. 2563
กปน. สร้างบุญใหญ่ จัดพิธีทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี ประจำปี 2563
ณ วัดบัวหลวง อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09.30 น.
นายกวี อารีกุล ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.)
เป็นประธานในพิธีทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี กปน. ประจำปี 2563
ณ วัดบัวหลวง ต.เชียงรากใหญ่ อ.สามโคก จ.ปทุมธานี
โดยมี นางนงลักษณ์ รัตนอุดมโชค รองผู้ว่าการ (การเงิน)
ในฐานะประธานกรรมการคณะ อำนวยการจัดงาน
คณะผู้บริหาร พนักงาน ผู้ปฏิบัติงาน กปน.
ร่วมกับสาธุชนในพื้นที่ใกล้เคียงร่วมกันทำบุญในครั้งนี้
อย่างพร้อมเพรียงกัน
ทั้งนี้ กปน. ได้จัดให้มีประเพณีทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี
มาอย่างต่อเนื่อง ปีนี้นับเป็นครั้งที่ 23
โดย กปน. มีจิตศรัทธาถวายองค์กฐิน
กองผ้าป่า สามัคคี และปัจจัยที่ได้จากเงินบริจาค
เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,268,869.65 บาท
โดยยอดเงินดังกล่าวจะนำไปร่วม
ก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่
เพื่อใช้ในการประกอบศาสนกิจต่าง ๆ
หลังจากศาลาฯ หลังเดิมเสียหาย เนื่องจากเหตุอุทกภัย
8 ตุลาคม พ.ศ. 2563
ประกาศผลการขึ้นทะเบียนผู้ผลิตท่อ/อุปกรณ์ท่อประปา
สำหรับใช้ในกิจการของการประปาส่วนภูมิภาค
รายชื่อบริษัทผู้ผลิตท่อ อุปกรณ์ท่อประปา
สำหรับใช้ในกิจการของการประปาส่วนภูมิภาค
๑ ตุลาคม ๒๕๖๓ ถึง ๓๐ กันยายน ๒๕๖๖
รายชื่อบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เหล็กหล่อเทา
รายชื่อบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์เหล็กหล่อแกรไฟต์กลม
รายชื่อบริษัทผู้ผลิตท่อและอุปกรณ์ท่อพีวีซี
บริษัท อุตสาหกรรมท่อน้ำไทย จำกัด
บริษัท นวอุตสาหกรรมพลาสติก จำกัด
บริษัท บอร์นไพพ์ จำกัด
บริษัท แอดวานซ์ไพพ์ จำกัด
บริษัท
ไทยวินิเทค จำกัด
รายชื่อบริษัทผู้ผลิตท่อและอุปกรณ์ท่อพอลิเอทิลีน
ความหนาแน่นสูง High Pressure HDPE pipe
รายชื่อบริษัทผู้ผลิตท่อและอุปกรณ์ท่อโพลิบิวทิลีน
บริษัท บีพีไพพ์ (ไทยแลนด์) จำกัด
29 กันยายน 2563
เธียรสุรัตน์ Opportunity Day Q2/2020
ดูรายละเอียดการนำเสนอของ บมจ.เธียรสุรัตน์
11 กันยายน พ.ศ. 2563
Produces and Distributes tap water
Operates tap water and waste water
Investment in other businesses
กำลังการผลิตน้ำประปาของบริษัทผลิตน้ำประปาเอกชน
Capacities of private tap water companies
รายชื่อโรงงานผลิตน้ำประปา ของ TTW
แผนผังขั้นตอนกระบวนการผลิตน้ำประปา
Tap water production process
ที่มา > SET.OR.TH/OpportunityDay
30 สิงหาคม พ.ศ. 2563
30 August 2020
Veolia is offering to acquire
29.9% of Suez from Engie,
to create the French world champion
of ecological transformation
Aligned strategies to address the global ecological transition challenges
Creating proforma €41bn company
Cost synergy of €500m from merger
This all-cash proposal at a price of €15.50 per share
ขอขอบพระคุณทุกเว็บไซต์ ทุกหน่วยงาน ทุกองค์กร ทุกสื่อ ทุกแหล่งข่าว
WWW.CHEMWINFO.COM BY KHUN PHICHAI
https://www.thaiwater.net/water/dam/large